รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2525 - 2535) ของ นิสสัน_มาร์ช

นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1

นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1 ใช้รหัสตัวถังว่า K10 ในการเปิดตัวได้มีการนำ Masahiko Kondou นักแข่งรถ Formula Nippon และเป็น Idol ยอดนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นในช่วงนั้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ ส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้ เครื่องยนต์ตัวแรกและดั้งเดิมของมาร์ช K10 คือเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ MA10S 4สูบ SOHC 8 วาล์ว 987 ซีซี ในการขับขี่บนท้องถนนจริง พบว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก มีอัตราการใช้น้ำมันประหยัดมาก คือ 21 กิโลเมตร/ลิตร และจากการทดสอบพบว่า หากขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมงแล้ว จะสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึง 32.5 กิโลเมตรต่อลิตร ซึ่งในภาพรวมนิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งมีการคิดค้นรุ่นพิเศษลิมิเต็ดเอดิชันออกมาอีกหลายรุ่น จึงได้รับการตอบรับอย่างดี และเป็นรถเล็กรุ่นแรก ที่ติดตั้ง TurboChager และหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2528 และ Nissan March Super Turbo(รวมเทคโนโลยี่ Supercharger และ TurboCharger ไว้ในเครี่อง MA10ET ตัวเดียว )ในปี 2532 และสามารถทำยอดขายได้ครบ 1 ล้านคันในเวลาเพียง 6 ปีหลังจากเริ่มผลิต และมียอดขาย K10 รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านคัน

ในช่วงนั้น บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (สยามกลการในยุคนั้น) ได้มีการนำมาร์ชรุ่นแรกเข้ามาขายในประเทศไทยด้วย แต่ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ด้วยเพราะมาร์ชในประเทศไทยได้ตัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกออกมากเกินกว่าที่ลูกค้าจะยอมรับได้ มาร์ชในญี่ปุ่นมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากกว่า ดูน่าขับมากกว่า ในขณะที่โตโยต้า สตาร์เล็ต ให้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาเยอะกว่าและดูปราดเปรียวกว่า เพราะเป็นโมเดลเชนจ์ที่เปิดตัวตามหลัง March 3 ปี แต่ประเทศไทยเพิ่งนำมาขายจึงหมดโอกาสกวาดยอดขายก่อน Starlet จะเข้ามา หรือแม้แต่ซูซูกิ คัลตัส ที่บริษัทในเครือสยามกลการซึ่งก็คือสยามอินเตอร์เนชั่นแนล คอร์เปอเรชั่น (ปัจจุบันคือ ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย) นำเข้ามา จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน มีทั้งเข็มวัดรอบสวยหรู เบาะสวยหรู มีสปอยเลอร์ ดูน่าเร้าใจมากกว่าอีกทั้งในช่วงนั้นรถที่คนไทยนิยมมากที่สุด คือรถเก๋งซีดานขนาดเล็ก เช่น มิตซูบิชิ แลนเซอร์, โตโยต้า โคโรลล่า, ฮอนด้า ซีวิค, นิสสัน ซันนี่ ฯลฯ เพราะมีความคุ้มค่าลงตัวที่สุด (บรรทุกได้หลายคน ใช้ได้ทั้งเป็นรถครอบครัวและรถส่วนตัว และไม่สิ้นเปลืองน้ำมันมากนัก) อีกทั้งคนไทยในสมัยนั้นมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อรถท้ายกุด ด้วยเกรงว่าผู้โดยสารที่เบาะหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายหากถูกชนท้ายเพราะไม่มีกระโปรงหลังคอยกั้น ทำให้ยอดขาย นิสสัน มาร์ชในประเทศไทยมีเพียง 30 คันต่อเดือนเท่านั้น (ทั่วประเทศ) ขณะที่ซันนี่ทำยอดขาย 200 คันต่อเดือน ส่วนสตาร์เล็ตชะตากรรมก็ไม่ต่างจากมาร์ช ถึงขั้นเชิญสื่อมวลชนไปเยี่ยมโรงงานและให้ทดลองขับก่อนวางจำหน่าย ทำยอดขายแค่ 50 คันต่อเดือนเท่านั้น หลังจากนั้นจึงแผ่วปลายลงไป จนบริษัทนิสสันในประเทศไทยหรือสยามกลการต้องยุติการขายมาร์ชอย่างเป็นทางการลง ใน พ.ศ. 2530 ก่อนที่จะมาเปิดตัวมาร์ชรุ่นที่ 4 อีกครั้งในปัจจุบัน นับจากนั้นนิสสันก็ไม่มีแผนประกอบรถเล็กวางจำหน่ายในไทยอีกเลย จนกระทั่ง Toyota กับ Honda ได้เปิดตัว Soluna และ City เพื่ออุดช่องว่างรถเล็กราคา 3-4 แสนบาท ในขณะที่ Corolla และ Civic ราคาแตะ 6 แสนบาทแล้ว ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้บรรดารถเล็กจากเกาหลีที่เคยได้รับความนิยมต้องม้วนเสื่อกลับไป และนิสสันเองอยากจะบุกตลาดรถเล็กบ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเองประสบความล้มเหลวในตระกูล NV ซึ่งเป็นโครงการทำรถเล็กเพื่อตลาด ASEAN แต่เนื่องจากในสมัยนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มเจอปัญหา ทำให้เป็นการนำ Sunny California และ Wingroad มาประกอบขายในไทย ในชื่อ NV-A แต่เนื่องจากราคาไม่ถูกจริงนัก และมีการเปิดเสรีรถนำเข้าแล้ว อีกทั้งคนไทยไม่นิยมรถ Station Wagon นัก จึงต้องมีการดัดแปลงเป็นรถกระบะหัวตั๊กแตน ในชื่อ NV Pickup (NV-B) ที่ทำยอดขายใช้ได้ และยังมีข่าวลือว่าสยามกลการจะดัดแปลง NV-A เป็นรถซีดานขนาดเล็กเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในสมัยนั้น และตั้งราคาไว้ที่ 299,000 บาท ซึ่งไม่มีใครเชื่อ เพราะไม่น่าเป็นไปได้ หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไรในกอไผ่ หลังจากนั้นภาพลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของนิสสันก็ค่อยๆ เลือนหายไปเพราะไม่มีรถเล็กอุดช่องว่าง จนกระทั่งเปลี่ยนมือไปสู่ยุคของพรเทพ พรประภา ความคิดที่จะทำรถเล็กก็ไม่เป็นรูปเป็นร่างซักที จนกระทั่งช่วงเปิดตัว Sunny NEO เมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2543 ตอกย้ำว่ารถเล็กนั้นโตยากทั้งๆ ที่ผ่านช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมาได้ไม่นานนัก แต่จากการโหมกระหน่ำของ Toyota Soluna Vios และ Honda City ทำให้ตลาดรถยนต์นั่งขยายตัวเร็วมากจนทำให้นิสสันยากที่จะขยับขยายยอดขายให้ใกล้เคียงคู่แข่งได้ เนื่องจากในสมัยนั้นนิสสันมีรถยนต์นั่งเพียงแค่ Sunny NEO และ Cefiro ทำตลาดเท่านั้น ทำให้นิสสันไม่สามารถครอบครองยอดขายอันดับ 3 รองจากอีซูซุได้อีกเลยจนถึงปัจจุบัน เมื่อคู่แข่งโกยฐานระดับล่างก็เท่ากับว่าสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งกว่านิสสันจนยากที่จะปฏิเสธ แต่ในสมัยนั้นหลังจากส่ง Carlos Ghosn มาบริหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ก็ไม่มีแผนที่จะทำรถเล็กเพื่อตลาด ASEAN เนื่องจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่นบีบบังคับให้สยามกลการขายหุ้นอย่างเบ็ดเสร็จจึงไม่มีรถใหม่ๆ เข้ามาทำตลาด จนกระทั่งเข้ามาบริหารเองได้ในปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: นิสสัน_มาร์ช http://www.headlightmag.com/main/index.php?option=... http://lastberry.myfri3nd.com/blog/2010/02/24/entr... http://newsroom.nissan-europe.com/uk/en-gb/media/p... http://www.nissan.co.jp/OPTIONAL-PARTS/NISMO/MARCH... http://www.nissanmarch.net http://www.nissan.co.th http://www.nissan.co.th/en/web/news/news_7702.htm http://www.nissan.co.th/~/media/Files/Nissan/Asia%... http://www.carmagazine.co.uk/News/Search-Results/F...